วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่2องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

สรุปบทที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

สรุปบทที่ 1  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
บทนำเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ช่วยให้คุณสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  อมพิวเตอร์นำมาใช้ในเกือบทุกสาขาอาชีพ เช่น อุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ ร้านค้า และสถาบันการศึกษาคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหลายส่วน ซึ่งสามารถแบ่งอย่างกว้างๆ ออกเป็น อุปกรณ์ป้อนข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล อุปกรณ์ประมวลผล และอุปกรณ์เก็บข้อมูล
คำศัพท์ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์คือ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์   ฮาร์ดแวร์หมายถึงองค์ประกอบทั้งหมดที่เชื่อมต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ ส่วนซอฟต์แวร์หมายถึงคำสั่งที่ทำให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน ซอฟต์แวร์ที่สำคัญที่สุดในคอมพิวเตอร์คือ ระบบปฏิบัติการ ซึ่งควบคุมและจัดการฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
คุณสามารถใช้ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ร่วมกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์คนอื่น โดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของคุณเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น กลุ่มคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ เรียกว่า เครือข่าย อินเทอร์เน็ต เป็นกลุ่มของเครือข่ายซึ่งเชื่อมโยงถึงกัน
ประสิทธิภาพและคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ จะมีให้เลือกมากมาย ทั้งรูปทรง ขนาด และประสิทธิภาพ
ซึ่งได้แก่ คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป คอมพิวเตอร์มือถือและคอมพิวเตอร์แท็บเบล็ต
คอมพิวเตอร์ทั้งหมดจะมีหน่วยความจำ ซึ่งใช้เพื่อบันทึกข้อมูลที่ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมใช้ ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ใช้จะปรากฏอยู่ในรูปของ 0 กับ 1 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันจะ
ทำงานแตกต่างกัน โปรแกรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานช่วยให้คุณสามารถจัดเรียงตัวเลข เขียนจดหมายหรือข้อเสนอ จัดการบันทึกข้อมูล และสร้างรูปภาพ โปรแกรมสื่อสารช่วยให้
คุณสามารถพูดคุยกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์คนอื่น คุณสามารถใช้โปรแกรมเพื่อความบันเทิง เพื่อดูภาพยนตร์ ฟังเพลง หรือเล่นเกม
ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์และช่วยจัดการแฟ้มและโฟลเดอร์บนคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการบางชนิด เช่น Windows XP ประกอบด้วย GUI ซึ่งช่วยเพิ่มความ
สะดวกในการบังคับควบคุมคอมพิวเตอร์  ส่วน Windows Explorer เป็นโปรแกรมในระบบปฏิบัติการ Windows ที่จะช่วยให้คุณสามารถค้นหาและเปิดแฟ้มและโฟลเดอร์ต่างๆ แต่ละแฟ้มมีรูปแบบที่เกี่ยวข้องกัน โดยระบบปฏิบัติการจะตัดสินใจเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับเปิดแฟ้มนั้นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบแฟ้ม
โอกาสในการทำงาน
ปัจจุบัน มีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย   นับตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์ในครัวเรือนไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ คุณสามารถใช้คอมพิวเตอร์
พื่อจัดการบันทึก แลกเปลี่ยนข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกรรมในแต่ละวันเพื่อสร้างเป็นรายงาน นอกจากนี้ยังสามารถใช้สำหรับการซื้อขายแบบออนไลน์ และการตรวจสอบราคาหุ้น และด้วยการใช้งานที่แพร่หลายนี้เอง ทำให้เกิดโอกาสในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น เพียงคุณมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง คุณก็สามารถเป็นผู้ที่ทำงานด้านสารสนเทศ ผู้มีวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์
นางสาวบุณยาพร   หล่อแหลม  สาขาการจัดการทั่วไป  1/2
ส่งงาน  อ. ทาริกา   รัตนโสภา

ความหมายของThumb drive,Flash Drive,Handy drive

1.Thumb drive
 Thumb drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติเหมือน CD-R, Floppy Disk, Hard Disk เป็นหน่วยความจำ ที่เสริมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ทาง Port USB และถือเป็นการเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ คือไม่ต้องมีตัว Drive ตัว Disk พกพาได้สะดวกมีขนาดเล็กเท่ากับหัวแม่มือ เป็นยุคแรกๆ ของอุปกรณ์จำพวก Flash Drive ความเร็วในการอ่าน เขียน ประมาณ 500KB/Sec มีความจุอยู่ระหว่าง 8 MB - 1024MB ในปัจจุบันอาจมีมากขึ้น สำหรับราคาในยุคแรกๆ ราคาสูง ขนาดความจุน้อย



2.Flash Drive
 Flash Drive มีชื่อจริงว่า USB Mass Storage Device ส่วนใหญ่เรียกกันว่า USB Flash Memory Drive , USB Flash Drive Memory หรือ USB Flash Drive การใช้งานเชื่อมต่อกับ Computer ผ่านทาง Port USB ใช้ Flash Memory เก็บข้อมูล ทำงานเป็น Drive เหมือน HardDisk อ่านและบันทึกข้อมูลได้อย่างเดียวไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ ซึ่งเป็นยุคต่อมาจาก Thumb drives ราคาถูกลง ความจุมีมากขึ้น ขนาดของตัว Flash Drive เล็กลงด้วย บางยี่ห้อมีขนาดประมาณ 1 นิ้ว



3.Handy drive
  Handy drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติและการทำงานเหมือน Flash drive แต่ที่เพิ่มขึ้นมาคือสามารถเล่นไฟล์ Mp3 ไฟล์วีดีโอ ไฟล์รูปภาพ ฟังวิทยุผ่านช่องเสียบหูฟัง และฟังก์ชันอื่นๆ ที่ผู้ผลิตจะใส่ลงไป ใช้แบตเตอรี่มีทั้งแบบใช้ถ่าน AA , AAA หรือถ่านชาตร์ ซึ่งจะชาตร์ถ่านผ่านทาง Port USB รูปลักษณ์สวยงาม แต่มีขนาดใหญ่กว่า Flash drive เนื่องจากต้องใช้แบตเตอรี่ สำหรับราคาแพงกว่า Flash drive อยู่บ้างเหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้งานที่หลากหลาย
นางสาวบุณยาพร  หล่อแหลม  สาขาการจัดการทั่วไป 1/2
ส่งงาน  อ.ทาริกา  รัตนโสภา

แบบฝึกหัดท้ายบทที่2

1. ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ฮาร์ดแวร์ เป็นอุปกรณ์ที่จับต้องได้ สัมผัสได้ มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม มีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่อง (เช่น ซีพียู เมนบอร์ด แรม) และที่ติดตั้งอยู่ภายนอก (เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์)ซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ ส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บรรจุคำสั่งเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ โดยปกติแล้วจะถูกสร้างโดยบุคคลที่เรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (programmer) เป็นองค์ประกอบทางนามธรรม ไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้เหมือนกับฮาร์ดแวร์ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ
2.ซอฟท์แวร์ประยุกต์

2. หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงการซอฟต์แวร์ไทย
ตอบ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอพต์แวร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย โดยมียุทธศาสตร์หลักในการผลักดันซอฟต์แวร์ของไทย อาทิ Enterprise Software, Animation and Multimedia, Game and Mobile Applications และ Embedded Software ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ


3. นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ต้องวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้รวมไปถึงผู้บริหารของหน่วยงานว่าต้องการระบบโปรแกรมหรือลักษณะงานอย่างไร เพื่อจะพัฒนาระบบงานให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด เช่น สำนักงานบัญชีต้องการซอฟแวร์แบบใดที่เหมาะกับงานบัญชี

4. ช่างเทคนิค มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์
ตอบ 1. มีความชำนาญทางด้านเทคนิคโดยเฉพาะ
2.มีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
3.หน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้ใช้งานได้ตามปกติ

5. Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
ตอบ เกี่ยวข้องในการพัฒนาซอฟต์แวร์ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาอย่างมีแบบแผน อาศัยหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์มาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อนของซอฟท์แวร์ และหาคุณภาพของซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาได้ มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากพอสมควร อยู่ในทีมงานพัฒนาซอฟต์แวร์กลุ่มเดียวกับนักเขียนโปรแกรมและนักวิเคราะห์ระบบ พบเห็นได้กับการผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น การสร้างระบบปฏิบัติการ การเขียนโปรแกรมเกมส์

6. การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด
ตอบ ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator)

7. binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
ตอบ ระบบเลขฐานสอง หรือที่เรียกว่า binary system เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ 0 กับ 1 เราเรียกว่าเป็นตัวเลขฐานสองหรือไบนารีดิจิต (binary digit) มักเรียกย่อๆว่า บิต (bit) นั่นเอง เกี่ยวข้องคือ ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ ต้องแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน สถานะหรือรูปแบบนี้เราเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอล

8. กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ขั้นตอนที่ 1 กด SHIFT+Dเพื่อป้อนตัวอักษร
ขั้นตอนที่ 2 สัญญาณของตัวอักษร D ส่งไปยังระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนที่ 3 แปลงอักษร D ให้อยู่ในรุปแบบมาตรฐาน ของรหัส ASC
ขั้นตอนที่ 4 แสดงผลโดยแปลงกลับเป็นตัวอักษร D บนอุปกรณ์แสดงผล

9. การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ยุคแรกใช้บัตรเจาะรูเพื่อควบคุมลายทอผ้า นำบัตรแบบใหม่มาประยุกต์ใช้มากขึ้น เช่น IBM 80 Column พัฒนามาใช้สื่อแบบใหม่มากขึ้นจนถึงปัจจุบัน แบ่งการนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้เป็น 2 วิธีด้วยกันคือ
- ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device) ผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูล เช่น คีย์บอร์ด (keyboard) สำหรับข้อมูลประเภทตัวอักษร หรืออักขระพิเศษ สแกนเนอร์ (scanner) สำหรับข้อมูลประเภทภาพ ไมโครโฟน (microphone) สำหรับข้อมูลประเภทเสียง ฯลฯ
-ผ่านสื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) ดึงเอาข้อมูลที่ได้บันทึกหรือเก็บข้อมูลไว้ก่อนแล้วโดยใช้ สื่อเก็บบันทึกข้อมูล สำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ หรือซีดี เครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลเหล่านี้โดยอาศัยเครื่องอ่านสื่อโดยเฉพาะ เช่น ฟล็อปปี้ไดรว์ ซีดีรอมไดรว์ บัตรเจาะรูจัดอยู่ในกลุ่มการนำเข้าข้อมูลวิธีนี้เช่นกัน (ปัจจุบันไม่พบเห็นการใช้งานแล้ว)

10. พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ “สมอง” และประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้อง อะไรบ้าง
ตอบ หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วย1. ระบบเลขฐานสอง หรือ ไบนารี (Binary) 2. แอดเดรส 3. บัส 4. หน่วยความจำแคช 5. ความเร็วสัญญาณนาฬิกา6. รีจิสเตอร์ 7. ทรานซิสเตอร์ 8. Arithmetic logic unit (ALU)9. Floating - Point Unit (FPU)10. Control Unit 11. Decode unit

11. ROM และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ Rom คือ หน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ใช้เก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะข้อมูลใน ROM จะอยู่กับเครื่องอย่างถาวร ถึงแม้ไฟจะดับหรือปิดเครื่องไปก็ไม่สามารถทำให้ข้อมูลหรือคำสั่งในการทำงานต่างๆหายไปได้นิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า nonvolatile memory
ส่วนRAM หน่วยความจำที่จดจำข้อมูลคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังทำงานอยู่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา หากไฟดับหรือมีการปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะถูกลบเลือนหายไปหมด

12. machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ วัฏจักรเครื่อง หมายถึง วงจรการทำงานของ Processor ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องกับเวลาที่ Processor ทำงาน โดยจะถูกควบคุมด้วยแผงวงจรเล็กๆ ที่ระบบ PC เรียกว่า Clock ซึ่งวัดหน่วยเป็นล้านรอบต่อวินาที (MHz)

13. ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบเวลาปฏิบัติการ อยู่ขั้นตอนที่ 3 และ 4 (Execute และ Store) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนวณและนำผลลัพธ์ไปเก็บเพื่อรอให้เรียกใช้
นางสาว  บุณยาพร  หล่อแหลม สาขาการจัดการทั่วไป1/2
ส่งงาน  อ.ทาริกา  รัตนโสภา

แบบฝึกหัดท้ายบทที่1

1.ลักษณะเด่นของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้
         -
ความเป็นอัตโนมัติ
         -
ความเร็ว
         -
ความถูกต้อง แม่นยำ
         -
ความน่าเชื่อถือ
         -
การจัดเก็บข้อมูล
         -
ทำงานซ้ำๆได้
         -
การติดต่อสื่อสาร
2.เครื่อง SUAN-PAN เกี่ยวข้องกับประวัติของคอมพิวเตอร์ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ. SUAN-PAN เป็นอุปกรณ์ประเภทลูกคิดที่เอามาใช้สำหรับคำนวณของชาวจีนในสมัยก่อน
        
เพื่อช่วยในการคิดหาผลลัพธ์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้
        
กันในยุคปัจจุบัน
3.แท่งคำนวณของเนเปียร์ สร้างขึ้นมาโดยใคร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ. สร้างขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวสก๊อตชื่อว่า จอห์น เนเปียร์ มีลักษณะเป็นแท่งไม้ตีเส้นตาราง
        
เพื่อเอาไว้คำนวณหาผลลัพธ์
4.ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาของคอมพิวเตอร์" คือใคร และเหตุใดจึงได้รับการยกย่องเช่นนั้น
ตอบ. "ชาร์ลส แบบเบจ" เนื่ิองจากเขาเป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครื่องจักรกลให้สามารถ
        
ทำงานตามคำสั่งได้โดยไม่ต้องมานั่งคำนวณหาผลลัพธ์ใหม่อีกครั้ง
5.เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลกคือเครื่องใด และจงอธิบายว่าสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลใด
ตอบ. ENIAC ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นเพื่อการช่วยคำนวณ
        
วิถีกระสุนปืนใหญ่ของกองทัพสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
6. John Von Neumann มีบทบาทอย่างไรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของคอมพิวเตอร์
ตอบ. เขาเป็นผู้เสนอแนวคิดและเผยแพร่ให้มีการพัฒนาเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลเละชุดคำสั่งไว้ภายใน
        
ได้เอง โดยไม่ต้องมาคอยป้อนข้อมูลเข้าไปใหม่ทุกครั้งซึ่งมันจะทำให้เสียเวลาในการทำงานอย่าง
         
มาก
7.เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจ คือเครื่องใด และนำมาใช้กับงานด้านใด
ตอบ. UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำเอามาใช้ในเชิงธุรกิจเครื่องแรก ใช้ในการทำนายผลการ
        
เลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา
8.ทรายซิสเตอร์กับแผงวงจรรวม เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อทดแทนการทำงานของหลอดสูญญากาศ โดยมีขนาดเล็ก
        
กว่าหลอดสูญญากาศ และยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่เนื่องจากการทำงานที่ซับซ้อนและ
        
ต้องการประมวณผลที่เร็วขึ้น จึงทำให้ทรานซิสเตอร์ถูกพัฒนามาเป็น แผงวงจรรวม โดยมีความ
        
สามารถที่ดีกว่าเดิม ซึ่งเป็นการนำเอาทรานซิสเตอร์จำนวนนับพันตัวมารวมกันเป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียว
        
และมีขนาดเล็กลงจึงทำให้ลดต้นทุนในการผลิตลงไปได้มากและเครื่องที่ผลิตได้มีขนาดเล็กลงมาก
นางสาวบุณยาพร  หล่อแหลม  สาขาการจัดการทั่วไป 1/2
ส่งงาน  อ.ทาริกา รัตนโสภา