วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปบทที่1-13

สรุปท้ายบทที่1
            คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาช่วยเหลือการทำงานของมนุษย์อย่างมาก มีคุณสมบัติเด่นคือ ความเป็นอัตโนมัติทำงานด้วยคามเร็ว มีความถูกต้องแม่นยำน่าเชื่อถือ จัดเก็บข้อมูล ทำงานซ้ำๆกันและใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อติดต่อสื่อสารกันได้ คอมพิวเตอร์ในยุดแรกเนนในการทำสงครามเป็นหลัก ต่อมามีการพัฒนาให้ดีขึ้น โดยปรับขนาดให้เล็กลงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเราสามารถนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ในสายงานต่างๆได้มากมายเช่น การใช้งานภาครัฐ รกิจทั่วไป สายการบิน การศึกษา ธุรกิจนำเข้าและส่งออก ธนาคาร วิทยาศาสตร์และการแพทย์เป็นต้น
            ปริมาณผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆและคอมพิวเตอร์มีการเชื่อมโยงต่อกันเป็นเครือข่ายมากขึ้นการออกแบบตัวเครื่องในรุ่นใหม่ๆมีการปรับรูปลักษณ์แปลกตามากกว่าเดิม นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาขีดความสามารถให้ใกล้เคียงกับมนุษย์ โดยนำเอาศาสตร์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์จะทำงานได้รับมาเท่านั้น หากได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด การประมวลผลก็ย่อมผิดตามไปด้วย ผู้ใช้ภาพรวมในการใช้งานของคอมพิวเตอร์ว่า ไม่สามารถเอามาใช้แทนมนุษย์ได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ มนุษน์ยังเป็นผู้ควบคุมการทำงานบางอย่างอยู่

สรุปท้ายบที่2
                การทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ4อย่างด้วยกันคือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากรแลข้อมูล องค์ประกอบแต่ละอย่างล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง การทำงานจะไม่มีความสมบูรณ์เต็มที่
               พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยหน่วยทำงาน5หน่วยด้วยกันคือ หน่วยประมวลผลกลางหน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรอง หน่วยรับ/แสดงผลข้อมูล และทางเดินของระบบ การทำงานของซีพียูจะเปรียบกับสมองที่ใช้สั่งการมนุษย์ ซึ่งทำหน้าที่ในการประมวลผล หน่วยความจำหลักทำหหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งที่ได้ในการประมวลผล หน่วยความจำสำรองจะใช้เป็นที่เก็บและบันทึกข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อสามารถเรียกใช้ได้ในภายหลัง และมีทางเดินของระบบทำงานเป็นเหมือนเส้นทางส่งผ่านข้อมูลระหว่างซีพียุและหน่วยความจำให้สามารถเชื่อมต่อกันได้

สรุปบทที่3
                ซอฟต์แวร์เป็นกลุ่มคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ สามารถจำแนกได้ สามารถจำแนกได้เป็น2ประเภทใหญ่ๆคือซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ ระบบปฎิบัติการถือเป็นซอฟต์แวร์ที่เกียวข้องกับการควบคุมและดูแลระบบคอมพิวเตอร์โดยรวมทั้งหมด โดยมีคุณสมบัติในการทำงานต่างๆ เช่น ทำงานหลายงานได้ สามารถแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อยหลายๆ ส่วนแล้วทำงานร่วมกัน หรือรองรับผู้ใช้ได้หลายคน สำหรับซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ แบ่งตามลักษณะการผลิตและกลุ่มการใช้งาน ซึ่งมีผู้ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก การเลือกซอฟต์แวร์มาใช้งานนั้นสามารถหาเลือกซื้อได้ทั้งที่จำหน่ายแบบสำเร็จรูป ว่าจ้างให้ผลิตตามแบบเฉพาะของตนเอง ดาวน์โหลดฟรี หาตัวทดลองใช้ หรือนำเอาโอเพ่นเซอร์สพัฒนาเพื่อใช้งานเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กัยการเหมาะสม
                  ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุคด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ยุคแรกที่ใช้ภาษาเครื่อง ซึ่งถือว่าเป็นภาษาระดับต่ำ และพัฒนามาเป็นภาษาแอสแซมบลีในยุคที่สอง ต่อมาได้ตัดทอนรูปแบบของคำสั่งและพัฒนาให้ไกล้เคียงกับภาษาของมนุษย์มากยึ่งขึ้นหรือเรียกว่า ภาษาระดับสูง ในยุคที่สาม แต่การเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนมากขึ้นจำเป็นต้องใช้ความชำนาญมากพอ จึงได้มีการพัฒนาภาษาระดับสุงมาก สำหรับช่วยเหลือในการเขียนโปรแกรมอีกครั้งในยุคที่สี่ และมีแนวโน้มจะใช้ภาษาที่ไกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้นไปอีก เรียกว่า ภาษาธรรมชาติในยุคที่ห้า

สรุปบทที่ 4
               ฮาร์ดแวร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์มีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในและภายนอกตัวเครื่อง สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า อุปกรณ์ประมวลผล หน่วยเก็บข้อมูลสำรองและอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์
               อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าสามารถแบ่งแยกได้หลายประเภท เช่น กด ชี้ตำแหน่ง ปากกา มัลติมีเดีย หรือใช้การสแกน ส่วนอุปกรณ์ประมวลผลที่เปรียบเสมือนหัวใจของพีซีทั่วไปคือ เมนบอร์ด และซีพียู ที่ทำหน้าที่เหมือนกับเป็นสมอง ส่วนหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่รู้จักกันดีมีหลายประเภท เช่น จานแม่เหล็ก สื่อเก็บแบบแสง เทป หรือหน่วยความจำแบบแฟลช สำหรับอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์นั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ควรประเภท คือ แสดงผลลัพธ์หน้าจอพิมพ์งาน และขับเสียง
                โครงสร้างโดยทั่วไปของการจักเก็บข้อมูลด้วยสื่อเก็บแบบจานแม่เหล็กที่ควรรู้จักคือ แทรค ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลที่แบ่งออกเป็นส่วนตามแนวเส้นรอบวงกลม และเซกเตอร์ ซึ่งเป็นการแบ่งแทรคออกเป็นส่วนๆ

สรุปบทที่ 5
                ระบบปฏิบัติการ เป็นซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ โดยจะทำงานร่วมกับโปรแกรมประยุกต์และจักการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์นั้น
                 การบู๊ตเครื่อง เป็นขั้นตอนที่คอมพิวเตอร์เริ่มทำงานโดยโหลดเอาระบบปฏิบัติการเข้าไปไปไว้ในหน่วยคาวมจำประเภท RAM ซึ่งทำได้หลายลักษณะด้วยกันคือ โคลด์บู๊ต (Cold boot) และวอร์มบู๊ต (Warm boot)
                  ในการสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ ผู้ใช้ต้องป้อนข้อมูลหรือชุดคำสั่งผ่านส่วนประสานงานกับผู้ใช้ (User lnterface) ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบคอมมานด์ไลน์และแบบกราฟิก (หรือ GUI) โดยแบบหลังจะนิยมใช้มากในระบบปฏิบัติการใหม่ๆ เช่น Windows ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจดจำรูปแบบคำสั่งให้ยุ่งยากเหมือนแบบแรก
                  ระบบปฏิบัติการยังมีความสามารถในการจัดการกับไฟล์ โดยอณุญาตให้ผู้ชั คัดลอก ย้าย ลบ หรือเปลี่ยนชื่อไฟล์ต่างๆ ได้โดยสะดวก และมีการจัดลำดับโครงสร้างของไฟล์ออกเป็นลำดับชั้นเรียกว่า โครงสร้างแบบต้นไม้ (tree-like structure) นอกจากนั้นยังสร้างหน่วยความจำเสมือนไว้เสริมกับหน่วยความจำ RAM ขณะที่ทำงานกับข้อมูลจำนวนมาก และกันพื้นที่ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์เรียกว่า บัฟเฟอร์ สำหรับพักข้อมูลที่รับส่งกับอุปกรณ์นำเข้าและอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลซึ่งโดยปกติจะทำงานช้ากว่ซีพียูมาก

สรุปบทที่ 6
                   ข้อมูลสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์นั้น อาจได้มาจากข้อมูลภายในหรือภายนอกองค์กร ซึ่งควรมีคุณสมบัติพื้นฐานประกอบด้วย ความถูกต้อง มีความเป็นปัจจุบัน ตรงตามความต้องการ มีความสมบูรณ์และสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ในการจัดการกับข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ จะมีการจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นลำดับเพื่อง่ายต่อการเรียกใช้ บิต ไบต์ ฟีลด์ เรคอร์ด ไฟล์
                    โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บไว้บนสื่อบันทึกข้อมูลสำรองมีอยู่ 3 ลักษณะคือ แบบเรียงลำดับ แบบสุ่มและลำดับเชิงดรรชนี การเลือกใช้ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับงาน สำหรับแฟ้มข้อมูลโดยทั่วไปนั้นจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภมคือ แฟ้มหลัก ซึ่งเป็นแฟ้มข้อมูลที่มีความถี่ของการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไม่บ่อยมากนัก และอีกประเภทหนึ่งคือ แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นแฟ้มที่มีการเปลี่ยนหรือแก่ไขรายการข้อมูลภายในค่อนข้างบ่อยและทำแบบประจำต่อเนื่องหรือเกิดขึ้นทุกวัน
                      ข้อมูลจำนวนมากที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จะถูกเก็บรวบรวมไว้ที่เดียวกัน เรียกว่า ฐานข้อมูล ซึ่งช่วยให้การประมวลผลมีความสะดวกและง่ายยิ่งขึ้น โดยมีแนวคิดที่จะจัดการกับข้อมูลเพื่อลดความซ่ำซ้อน ลดความขัดแย้งรักษาความคงสภาพ อำนวยความสะดวกในการใช้ข้อมูลร่วมกัน ง่ายต่อการเข้าถึงและลดระยะเวลาพัฒนาระบบงานเครื่องมือสำหรับการจักการฐานข้อมูลนั้น เรียกว่า DBMS ซึ่งเป็นเสมือนผู้จัดการฐานข้อมูลที่จะดูแลและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โดยไม่ต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากแต่อย่างใด









สรุปบทที่ 7
                    ระบบจะเกี่ยวข้องกับส่วนประกอบอื่นๆหลายส่วน ซึ่งต้องทำงานเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เพื่อให้องค์กรหรือหน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ การพัฒนาและออกแบบระบบขั้นตอนสำคัญเพื่อให้ได้ระบบสารสนเทศตรงความต้องการของผู้ใช่ทั่วไป บุคคลที่ทำงานเหล่านี้ก็คือ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
                  สาเหตุที่เราต้องมีการวิเคราะห์ระบบนั้น ก็เพื่อจะศึกษาถึงรายละเอียดของปัญหาว่าต้องทำอะไรบ้าง โดยหาความต้องการ (Requirements) ให้ได้ว่าต้องการแก้ปัญหาหรืออยากได้อะไรเพิ่มเติมเข้ามาในระบบ ซึ่งมักต้องอาศัยการศึกษาและฝึกถามคำถามด้วยว่าเราจะทำระบบอะไร (What) ทำโดยใคร (Who)
ทำเมื่อไหร่ (When) ทำไมต้องทำ (Why) และควรทำอย่างไรบ้าง (How) ซึ่งจะให้เราได้สารสนเทศตรงใจผู้ใช้มากที่สุดด้วย
               กระบวนการต่างๆเหล่านี้จึงเกี่ยวข้องกับการทำงานที่เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนว่า เริ่มต้นต้องทำอะไรบ้างและสุดท้ายแล้วจะต้องดูแลบำรุงรักษาระบบอย่างไรบ้าง ซึ่งมักแบ่งเป็นขั้นตอนหรือกลุ่มงานที่สำคัญชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการลงมือทำ กระบวนการเหล่านี้มักเรียกว่า วงจรการพัฒนาระบบหรือ SDLC (System Development Life Cycle) ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญๆคือ กำหนดปัญหา (Problem Recognition) วิเคราะห์ระบบ (Analysis) ออกแบบระบบ (Design) พัฒนาระบบ (Implementatin) การทดสอบ (Testing) ติดตั้งระบบ (Installation) และการบำรุงรักษา (Maintenance) นั่นเอง



สรุปบทที่ 8
          ผังงาน(Flowchart) เป็นเครื่องแสดงลำดับการทำงานด้วยภาพสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐาน ทำให้มองเห็นขั้นตอนการทำงานได้ชัดเจน และนำไปเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น โดยลักษณะของผังงานมีหลายรูปแบบคือ แบบเรียงลำดับ (Sequence) แบบมีเงื่อนไข (Decision) และแบบทำซ้ำ (Loop) ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงานนั้นๆ
         ก่อนเริ่มลงมือเขียนโปรแกรมหรือปฏิบัติงานใด ควรเขียนขั้นตอนและผังงานเพื่อจัดลำดับความคิดและลำดับการทำงานให้ถูกต้อง ทำให้เห็นภาพรวมของงาน และแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ผิดพลาดไปได้ง่าย โดยไม่ต้องเริ่มคิดใหม่ตั้งแต่ต้น
         เราสามารถเขียนผังงานโดยใช้โปรแกรมหรือเครื่องมือต่างๆช่วยในการออกแบบซึ่งมีผู้ผลิตโปรแกรมออกมาหลายค่าย ทำให้ลดขั้นตอนและการทำงานลงไปได้มากยิ่งขึ้น



สรุปบทที่ 9
                เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นการนำคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาเชื่อมต่อเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสามารถทำงานแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร รวมถึงการใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการคือ การใช้ข้อมูลทำได้ช้า ไม่สามารถทำได้ทันทีและยากต่อการควบคุมดูแลในบางกรณี ระบบเครือข่ายโดยทั่วไปอาจแบ่งได้กว้างๆ เป็น 2 ลักษณะคือ LAN และ WAN องค์ประกอบของเครือข่ายประกอบด้วย อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และตัวกลางนำข้อมูล ซึ่งเป็นได้ทั้งสายเคเบิลชนิดต่างๆ เช่น สาย Coaxial สาย UTP คลื่นวิทยุ สาย Fiber Optic เป็นต้น
                 เครือข่ายแบบไร้สาย คือเครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์คือ ไม่ต้องเดินสายเหมือน LAN แบบอื่น เหมาะกับการใช้งานในบ้านหรือที่ซึ่งไม่สะดวกเดินสาย แต่จะทำความเร็วได้ต่ำกว่าแบบเดินสายหลายเท่า
                การจัดแบ่งหน้าที่ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมี 2 แบบใหญ่ๆ คือ Peer-to-Peer ซึ่งทุกเครื่องจะมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน และแบบ Server-based ซึ่งมีบางเครื่องทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์หรือผู้ให้บริการเครื่องอื่นหรือที่เรียกว่า ไคลเอนต์


สรุปบทที่ 10
                อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่ใหญ่ที่สุด มีการเชื่อมต่อเหมือนร่างแหที่แผ่ไปทั่ว จึงมีจุดเชื่อมต่อเข้ามาได้มากมายโดยผ่านเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่เดิม ทั้งนี้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้บริการของ ISP เพื่อขอเปิดการใช้งาน โดยต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อแต่ละประเภท
                การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีทั้งที่ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เรียกว่าแบบ Dial-up ซึ่งจำกัดความเร็วสูงสุดไม่เกิน 56 Kbps หรือการเชื่อมต่อด้วยการรับข้อมูลด้วยความถี่สูงหรือบรอดแบนด์ (Broadband) เช่น แบบ (ISDN) เคเบิลโมเด็ม (Cable modem); ADSL (Asymmetric Digictal Subscriber Loop) และดาวเทียม (Satellite) แต่ที่ใช้กันมากก็มี ISDN และ ADSL
                 การทำกิจกรรมอินเทอร์เน็ตต้องมีกติกาที่ทุกเครื่อง ทุกโปรแกรมต้องรับรู้และทำตามแบบมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งเรียกว่า โปรโตคอล


สรุปบทที่ 11
                เทคโนโลยี คือ การเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอีกหนึ่งแขนงของวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อจัดเก็บสารสนเทศที่ต้องการ
               ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่นำคอมพิวเตอร์มาจัดการเก็บข้อมูลในองค์กร ซึ่งมีผู้ใช้ 3 ระดับคือ ระดับสูง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริหารสูงสุด ระดับกลางซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคลากรในระดับบริหารและจัดการ เช่น หัวหน้าแผนก หรือหัวหน้าฝ่าย และกลุ่มสุดท้ายคือผู้ใช้ระดับปฏิบัติการ วึ่งได้แก่  กลุ่มปฏิบัติงาน
                เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศได้หลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม  สำหรับประเทศไทยเองได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ โดยได้ว่างกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT2010 ขึ้น โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของ การสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

สรุปบทที่ 12
          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการทำธุรกรรมซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน สินค้าหรือบริการระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยผ่านช่องทางการจำหน่ายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแตเดิมจะใช่ระบบ EDI หรือระบบเลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้คู่ค้าทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนเอกสารทางการค้าได้โดยตรง แต่ก็มีความนิยมค่อนข้างน้อยเพราะมีค่าใช่จ่ายในการวางระบบและดำเนินการสูง ซึ่งมีใช้เฉพาะในวงการอุตสาหกรรมบางกลุ่มหรือการค้าเฉพาะทางเท่านั้น จนกระทั่งอินเตอร์เน็ทมีการใช้งานแพร่หลาย การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จึงกลายมาเป็นการทำงานผ่านอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีค่าใช่จ่ายต่ำกว่ากันมาก
          รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นมากที่สุด สามารถแยกออกได้ 3 รูปแบบคือ ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ผู้บริโคกับผู้บริโภค (B2C) สำหรับขั้นตอนการค้านั้นประกอบด้วย การออกแบบและจัดทำเว็บไซต์ การโฆษณาเผยแพร่ข้อมูล การทำรายการซื้อขาย การส่งมอบสินค้า และการให้บริการหลังการขาย


สรุปบทที่ 13
         จริยธรรมเป็นแบบแผนความประพฤติหรือความมีสามัญสำนึกต่อสังคมในทางที่ดี เมื่อกล่าวถึงจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุคสารสนเทศ จะเกี่ยวข้องกับกรอบแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน 4 ประการคือ ความเป็นส่วนตัวความถูกต้องแม่นยำ ความเป็นเจ้าของ และการเข้าถึงข้อมูล
           อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นอีกกรณีหนึ่งที่พบเห็นได้ โดยนอกจากจะเป็นการกระทำที่  ขาดจริยธรรมแล้ว ยังถือว่าผิดกฎหมายด้วย การก่ออาชญกรรมทางคอมพิวเตอร์มีหลายรูปแบบ เช่น การลักลอบเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอณุญาต การขโมยและทำลายอุปกรณ์ การขโมยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การก่อกวนระบบด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย เป็นต้น วิธีการป้องกันและรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์อาจทำได้หลายวิธี เช่นการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส การใช้ระบบไฟร์วอลล์ การเข้ารหัสข้อมูล และการสำรองข้อมูล เป็นต้น
        




แบบฝึกหัดบทที่7-8

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7
1.จงอธิบายความหมายของระบบมาพอสังเขป
ตอบ.ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทางวิชาการ หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระบบ(System) คือ กระบวนการต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการเหล่านั้น และเชื่อมต่อกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ระบบ(System) คือ กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์อันเดียวกันและเพื่อให้เข้าใจในความหมายของคำว่าระบบที่จะต้องทำการวิเคราะห์ จึงต้องเข้าใจลักษณะของระบบก่อน

2.นักศึกษาคิดว่าระบบมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ
ตอบ.ระบบจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับส่วนย่อยหรือองค์ประกอบอื่นหลายส่วน เช่น บุคคล เครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการ วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้ ฯลฯ หากไม่มีระบบในการทำงานก็จะทำให้ยุ่งยากมากขึ้นจากเดิม หรือทำไม่ได้เลย เช่น ระบบในร่างกายของเราจะต้องประกอบไปด้วยระบบเส้นประสาท ระบบขับถ่าย ระบบหายใจระบบไหลเวียนของโลหิต ฯลฯ

3.เหตุใดจึงต้องวิเคราะห์และออกแบบระบบ
ตอบ.การวิเคราะห์และออกแบบระบบมีความสำคัญ เพราะเป็นปัจจัยในการสร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ระบบเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะนักวิเคราะห์ระบบต้องติดต่อกับคนหลายคน ได้รู้ถึงการจัดการและการทำงานในองค์การ ทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์หลายแบบมากขึ้น ผู้ที่สามารถวิเคราะห์ระบบได้ดี ควรมีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรม มีความรู้ทางด้านธุรกิจ ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายและฐานข้อมูล ซึ่งใช้เป็นความรู้ในการออกแบบระบบที่มีความแตกต่างกันออกไปตาม สภาพงาน ดังนั้น หน้าที่ของนักวิเคราะห์ ก็คือการศึกษาระบบ แล้วให้คำแนะนำในการปรับปรุงและพัฒนาระบบนั้นจนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งการทำงานทั้งหมดต้องมีลำดับขั้นตอนและการศึกษาวิธีการวิเคราะห์และการออกแบบระบบในแต่ละขั้นตอน ทำให้เข้าใจการวิเคราะห์ระบบนั้นๆ ดียิ่ง และสามารถออกแบบระบบใหม่โดยไม่ยากเย็นนัก โดยสามารถตัดสินใจว่า ระบบใหม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ประเภทไหน ใช้โปรแกรมอะไร ออกแบบ Input/output อย่างไรเป็นต้น

4.นักวิเคราะห์ระบบคือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง
ตอบ.คือ บุคคลที่มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบควรจะอยู่ในทีมระบบสารสนเทศขององค์กรหรือธุรกิจนั้นๆ การที่มีนักวิเคราะห์ระบบในองค์กรนั้นเป็นการได้เปรียบ เพราะจะรู้โดยละเอียดว่า การทำงานในระบบนั้นๆเป็นอย่างไรและอะไรคือความต้องการของระบบ
5.นักวิเคราะห์ระบบที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
ตอบ. 1.) มีความชำนาญหลากหลายในศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมภาษา ฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
2.) มีความเข้าใจในระบบธุรกิจ ระบบการเงิน และระบบการตลาด เป็นอย่างดี
3.) มีความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นอย่างดี
4.) ต้องเป็นนักสำรวจ ที่ช่างสังเกตในรายละเอียดในรายละเอียดต่าง ๆ ของระบบ รวมทั้งองค์ ประกอบภายนอกที่เกี่ยวข้องกับระบบ
5.) มีจรรยาบรรณต่อองค์กรที่พัฒนาระบบให้ ไม่นำข้อมูลที่ได้ซึ่งเป็นความลับขององค์กรไปเผยแพร่ภายนอกอันก่อให้ เกิดผลเสียแก่องค์กร
6.) ต้องทำงานเป็นทีมได้อย่างดี
7.)มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบต้องมีการติดต่อประสานงานระหว่างบุคคลหลายกลุ่ม
8.) สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง
9.) มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลให้ทั้งผู้บริหารระดับสูงรวมไปถึงผู้ใช้ระบบ ให้สามารถเข้าใจได้โดยง่ายและ ตรงกัน
10.) มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ดี หากองค์กรนั้นสื่อสารภายในเป็นภาษาอังกฤษ
11.) สามารถทำงานภายในภาวะกดดันได้ เนื่องจากต้องทำงานกับบุคคลหลายฝ่าย
12.) เป็นนักจิตวิทยา ในการที่จะพูดคุยหรือติดต่อกับกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มเพื่อให้
ได้ข้อมูลอย่างถูกต้อง
6.วงจรการพัฒนาระบบคืออะไร ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) เป็นวงจรที่แสดงถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ริเริ่มจนกระทั่งสำเร็จ วงจรการพัฒนาระบบนี้จะทำให้เข้าใจถึงกิจกรรมพื้นฐานและรายละเอียดต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอนด้วยกัน
7.การกำหนดความต้องการของผู้ใช้ (User Requirement) มีความสำคัญอย่างไร
ตอบ. 1.) ความต้องการที่เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบ (Functional Requirement)
1.1 คำบรรยายเกี่ยวกับการประมวลผลซึ่งระบบจะต้องทำ
1.2 รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่จะป้อน เข้าสู่ระบบ
1.3 รายละเอียดเกี่ยวกับผลลัพธ์
1.4 รายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่ต้องใช้ในระบบ
1.5 รายละเอียดเกี่ยวกับการควบคุม
2.) ความต้องการที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบ (Non-Functional Requirement)
แต่มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ของระบบ ทำให้ได้มาซึ่งความต้องการที่เกี่ยวกับ
หน้าที่ของระบบ ได้แก่
2.1 เกณฑ์ในหารปฏิบัติงาน (Performance Criteria) เช่น เวลาในการตอบสนองในการแก้ไขข้อมูลในระบบ หรือ การรับข้อมูลจากระบบ
2.2 ปริมาณข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่จะต้องรวบรวม หรือเก็บไว้ในระบบ
2.3 ความปลอดภัยของระบบ
3.) ความต้องการเกี่ยวกับความสามารถในการใช้งาน (Usability Requirement)
3.1 ลักษณะผู้ใช้ที่จะใช้ระบบ
3.2 งานที่ผู้ใช้จะต้องทำ รวมทั้งเป้าหมายที่เขาจะพยายามบรรลุ
3.3 ปัจจัย หรือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้ระบบ
3.4 เกณฑ์ที่ยอมรับได้ ซึ่งผู้ใช้จะใช้ในการตัดสินเมื่อนำระบบไปใช้
8.เทคนิคการรวบรวมข้อมูล (Fact-Gathering Techniques) คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ. คือเทคนิคที่ใช้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและรายงานต่างๆแผนผังองค์กร แบบสอบถาม การสังเกต รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ใช้งานและผู้เกี่ยวข้องกับระบบ
เป็นต้น
9. Gantt Chart คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ. เป็นแผนภูมิแท่งชนิด Bar Chart อย่างหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องกระทำกับระยะเวลาหรือเวลาสำหรับการปฏิบัติงานของกิจกรรมนั้น ๆ การเขียน Gantt chart จะต้องกำหนดเวลาของแต่ละโครงงาน ซึ่งจะแสดงภาพรวมของโครงการนั้น ๆ ทำให้เข้าใจภาพรวมของระบบได้ง่ายขึ้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถทำการตรวจสอบความก้าวหน้าในการวิเคราะห์ระบบได้ อย่างเข้าใจและรวดเร็วมากขึ้น
Gantt chart ที่สร้างในส่วนบนตามแนวนอนของตารางจะแสดงหน่วยของเวลา ไม่ว่าจะเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือหน่วยเวลาตามที่นักวิเคราะห์ระบบกำหนด ส่วนด้านข้างตามแนวตั้งของตาราง บรรทัดบนสุดจะเป็นชื่อโครงการ บรรทัดถัดมาจะเป็นรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ หรือขั้นตอนของโครงการซึ่งมักตั้งชื่อง่าย ๆ ที่สามารถเข้าใจได้ว่าโครงการนั้นทำอะไร

10. Tester คือใคร มีหน้าที่อะไร
ตอบ .คือ ผู้ทดสอบระบบ ทำหน้าที่ทดสอบระบบ เมื่อได้โปรแกรมหรือระบบตามที่
พัฒนาโปรแกรมได้เขียนไว้แล้ว




แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8
1.  ผังงาน (flowchart) คืออะไร
ตอบ. ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า
2. อธิบายรูปแบบผังงานแบบเรียงลำดับ (sequence) แบบมีเงื่อนไข (decision) และแบบทำซ้ำ (loop)
ตอบ. 1)การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) คือ การเขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์ จะเขียนเป็นผังงาน(Flowchart) ในแบบตามลำดับได้         
         2)การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) คือ การเขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
     3) การทำซ้ำ (Loop) คือ การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน(Flowchart) ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการ ถึงรูปแบบการทำงาน และใช้คำสั่งควบคุมด้วยตนเอง ตัวอย่างผังงานที่นำมาแสดงนี้เป็นการแสดงคำสั่งทำซ้ำ(do while) ซึ่งหมายถึงการทำซ้ำในขณะที่เป็นจริง และเลิกการทำซ้ำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ

3. ขั้นตอนการทำงานซ้ำแบบ while…do และ do…until ต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ.  while...do เป็นโครงสร้างที่มีการทดสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะเข้ามาทำงานในกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำ ซึ่งเรียกว่าการเข้าลูป หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นจริงอยู่ ก็ยังคงต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดไปที่อยู่ถัดจาก DO WHILE หรืออาจเป็นการจบการทำงาน
        ส่วน do…until เป็นโครงสร้างการทำงานแบบทำงานซ้ำเช่นกัน แต่มีการทำงานที่แตกต่างจาก DO WHILE คือจะมีการเข้าทำงานกลุ่มคำสั่งที่อยู่ภายในลูปก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง แล้วจึงจะไปทดสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะมีการเข้าทำกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำอีก หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นเท็จอยู่ ก็ยังต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง จึงจะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดจาก UNTIL หรืออาจเป็นการจบการทำงาน

4.จงบอกประโยชน์ของผังงาน
ตอบ.
1.) ทำให้มองเห็นรูปแบบของงานได้ทั้งหมด โดยใช้เวลาไม่มาก
         
 2.) การเขียนผังงานเป็นสากลสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้ทุกภาษา
         
3.) สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว
         
 4. )หากมีการพัฒนาระบบงานในลำดับต่อไป สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยศึกษาจากผังงาน จะสามารถศึกษาได้อย่างรวดเร็ว และเข้าใจง่ายกว่าการศึกษาจากโปรแกรม

แบบฝึกหัดท้ายบทที่2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่2
1. ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ฮาร์ดแวร์ เป็นอุปกรณ์ที่จับต้องได้ สัมผัสได้ มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม มีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่อง (เช่น ซีพียู เมนบอร์ด แรม) และที่ติดตั้งอยู่ภายนอก (เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์)ซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ ส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บรรจุคำสั่งเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ โดยปกติแล้วจะถูกสร้างโดยบุคคลที่เรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (programmer) เป็นองค์ประกอบทางนามธรรม ไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้เหมือนกับฮาร์ดแวร์ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.
ซอฟต์แวร์ระบบ
2.
ซอฟท์แวร์ประยุกต์

2.
หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงการซอฟต์แวร์ไทย
ตอบ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอพต์แวร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย โดยมียุทธศาสตร์หลักในการผลักดันซอฟต์แวร์ของไทย อาทิ Enterprise Software, Animation and Multimedia, Game and Mobile Applications และ Embedded Software ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ


3.
นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ต้องวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้รวมไปถึงผู้บริหารของหน่วยงานว่าต้องการระบบโปรแกรมหรือลักษณะงานอย่างไร เพื่อจะพัฒนาระบบงานให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด เช่น สำนักงานบัญชีต้องการซอฟแวร์แบบใดที่เหมาะกับงานบัญชี

4.
ช่างเทคนิค มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์
ตอบ 1. มีความชำนาญทางด้านเทคนิคโดยเฉพาะ
2.
มีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
3.
หน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้ใช้งานได้ตามปกติ

5. Software Engineer
เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
ตอบ เกี่ยวข้องในการพัฒนาซอฟต์แวร์ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาอย่างมีแบบแผน อาศัยหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์มาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อนของซอฟท์แวร์ และหาคุณภาพของซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาได้ มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากพอสมควร อยู่ในทีมงานพัฒนาซอฟต์แวร์กลุ่มเดียวกับนักเขียนโปรแกรมและนักวิเคราะห์ระบบ พบเห็นได้กับการผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น การสร้างระบบปฏิบัติการ การเขียนโปรแกรมเกมส์

6.
การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด
ตอบ ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator)

7. binary digit
คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
ตอบ ระบบเลขฐานสอง หรือที่เรียกว่า binary system เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ 0 กับ 1 เราเรียกว่าเป็นตัวเลขฐานสองหรือไบนารีดิจิต (binary digit) มักเรียกย่อๆว่า บิต (bit) นั่นเอง เกี่ยวข้องคือ ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ ต้องแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน สถานะหรือรูปแบบนี้เราเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอล

8.
กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ขั้นตอนที่ 1 กด SHIFT+Dเพื่อป้อนตัวอักษร
ขั้นตอนที่ 2 สัญญาณของตัวอักษร D ส่งไปยังระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนที่ 3 แปลงอักษร D ให้อยู่ในรุปแบบมาตรฐาน ของรหัส ASCขั้นตอนที่ 4 แสดงผลโดยแปลงกลับเป็นตัวอักษร D บนอุปกรณ์แสดงผล

9.
การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ยุคแรกใช้บัตรเจาะรูเพื่อควบคุมลายทอผ้า นำบัตรแบบใหม่มาประยุกต์ใช้มากขึ้น เช่น IBM 80 Column พัฒนามาใช้สื่อแบบใหม่มากขึ้นจนถึงปัจจุบัน แบ่งการนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้เป็น 2 วิธีด้วยกันคือ
-
ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device) ผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูล เช่น คีย์บอร์ด (keyboard) สำหรับข้อมูลประเภทตัวอักษร หรืออักขระพิเศษ สแกนเนอร์ (scanner) สำหรับข้อมูลประเภทภาพ ไมโครโฟน (microphone) สำหรับข้อมูลประเภทเสียง ฯลฯ
-
ผ่านสื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) ดึงเอาข้อมูลที่ได้บันทึกหรือเก็บข้อมูลไว้ก่อนแล้วโดยใช้ สื่อเก็บบันทึกข้อมูล สำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ หรือซีดี เครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลเหล่านี้โดยอาศัยเครื่องอ่านสื่อโดยเฉพาะ เช่น ฟล็อปปี้ไดรว์ ซีดีรอมไดรว์ บัตรเจาะรูจัดอยู่ในกลุ่มการนำเข้าข้อมูลวิธีนี้เช่นกัน (ปัจจุบันไม่พบเห็นการใช้งานแล้ว)

10.
พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ สมองและประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้อง อะไรบ้าง
ตอบ หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วย1. ระบบเลขฐานสอง หรือ ไบนารี (Binary) 2. แอดเดรส 3. บัส 4. หน่วยความจำแคช 5. ความเร็วสัญญาณนาฬิกา6. รีจิสเตอร์ 7. ทรานซิสเตอร์ 8. Arithmetic logic unit (ALU)9. Floating - Point Unit (FPU)10. Control Unit 11. Decode unit

11. ROM
และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ Rom คือ หน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ใช้เก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะข้อมูลใน ROM จะอยู่กับเครื่องอย่างถาวร ถึงแม้ไฟจะดับหรือปิดเครื่องไปก็ไม่สามารถทำให้ข้อมูลหรือคำสั่งในการทำงานต่างๆหายไปได้นิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า nonvolatile memoryส่วนRAM หน่วยความจำที่จดจำข้อมูลคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังทำงานอยู่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา หากไฟดับหรือมีการปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะถูกลบเลือนหายไปหมด

12. machine cycle
คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ วัฏจักรเครื่อง หมายถึง วงจรการทำงานของ Processor ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องกับเวลาที่ Processor ทำงาน โดยจะถูกควบคุมด้วยแผงวงจรเล็กๆ ที่ระบบ PC เรียกว่า Clock ซึ่งวัดหน่วยเป็นล้านรอบต่อวินาที (MHz)

13.
ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบเวลาปฏิบัติการ อยู่ขั้นตอนที่ 3 และ 4 (Execute และ Store) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนวณและนำผลลัพธ์ไปเก็บเพื่อรอให้เรียกใช้